สมดุลเคมี

     

สมดุลเคมี

  

สมดุลเคมี หมายถึง สภาวะที่ความเข้มข้นของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ไม่เปลี่ยน แปลงอีกแม้เวลาผ่านไป เราจะเรียกว่าปฏิกิริยาเคมีนั้นอยู่ในสมดุล (equilibrium) ทั้งนี้ การดำเนินไปของปฏิกิริยาไม่ได้สิ้นสุดลงแต่ระบบยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เรียกว่า สมดุลไดนามิก

กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์มี  3  รูปแบบ  คือ  การเปลี่ยนสถานะ  การละลาย  และการเกิดปฏิกิริยาเคมี  จำแนกเป็น  2  ลักษณะคือ

1.การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางเดียวไม่ย้อนกลับ  (Inreversible reaction) หมายถึงเมื่อสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปเป็นอีกสิ่งหนึ่งแล้ว  สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนี้จะไม่สามารถเปลี่ยนกลับมาสู่ภาวะเดิมได้โดยทันที  เช่น  การเผาไหม้ของสิ่งต่าง ๆ   เราไม่สามารถทำให้สิ่งที่เกิดจากการเผาไหม้  เปลี่ยนกลับไปเป็นสารเดิมเหมือนก่อนการเผาไหม้ได้อีก  การเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้ไม่มีภาวะสมดุล เช่น ปฏิกิริยาการเผาไหม้ดังสมการ

CH4(g) + O2(g) CO2(g) + H2O(g)

2.การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้หรือย้อนกลับได้ (Reversible reaction) มีลักษณะที่สำคัญคือเมื่อสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปเป็นสิ่งใหม่แล้ว  สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นก็สามารถเปลี่ยนกลับมาเป็นสิ่งเดิมได้ทันที การเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้จะเกิดภาวะสมดุลขึ้นได้  เช่น  การผลิต ก๊าซแอมโมเนีย (NH3) จากปฏิกิริยาระหว่างก๊าซไฮโดรเจน (H2) กับก๊าซไนโตรเจน (N2) ดังสมการ

3 H2(g)   +  N2(g)    ↔    2NH3(g)

ในการเกิดปฏิกิริยานี้  ก๊าซ H2  และ N2  เป็นสารตั้งต้น  ทำปฏิกิริยากันกลายเป็นก๊าซ NH3  และในทันทีที่เกิดก๊าซ  NH3   ก๊าซ NH3  ที่เกิดขึ้นจะสลายตัวกลับไปเป็นก๊าซ  H2  และ N2  อย่างเดิม  ฉะนั้นในเวลาเดียวกันจึงมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น  2    กระบวนการพร้อมกัน  ได้แก่

2.1ก๊าซ H2  กับ N2  ทำปฏิกิริยากันกลายเป็นก๊าซ NH3  ดังสมการ

3 H2(g)   +  N2(g)    →    2NH3(g)

กระบวนการนี้เกิดขึ้นก่อน  เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้า  (forward change  หรือ forward reaction)

2.2 ก๊าซ NH3  บางส่วนสลายตัวกลับมาเป็นก๊าซ  H2  กับ N2  ตามเดิม  ดังสมการ

2NH3(g)      →     3H2(g)  +  N2(g)

กระบวนการนี้เกิดขึ้นทีหลังเรียกว่าการเปลี่ยนแปลงย้อนกลับ (reverse change  หรือ reverse reaction)     เมื่อนำการเปลี่ยนแปลงทั้ง  2  มาเขียนไว้ในสมการเดียวกัน  รูปของสมการจะเป็นดังนี้

2NH3(g)    ⇌    3H2(g) +  N2(g)

ภาวะสมดุล  หมายถึง  ภาวะที่ระบบมีสมบัติคงที่  หรือภาวะที่สารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ทุกชนิดมีปริมาณหรือความเข้มข้นคงที่  หรือภาวะที่อัตราการเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าเท่ากับอัตราการเปลี่ยนแปลงย้อนกลับ

สมบัติของระบบ  ณ ภาวะสมดุล

1.ต้องเป็นปฏิกิริยาที่ผันกลับได้ โดย  ต้องเกิดในระบบปิด

2.มีปฏิกิริยาไปข้างหน้าและย้อนกลับเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยจำนวนโมลของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์คงที่แต่อาจเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้  และ  อัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าเท่ากับปฏิริยาย้อนกลับ

3.สมบัติของระบบคงที่ (จำนวนโมลคงที่  สีของสารคงที่  ความดันคงที่  และอุณหภูมิคงที่)

   ภาวะสมดุลในสารละลายอิ่มตัว  เมื่อให้ตัวถูกละลาย ละลายในตัวทำละลาย ตัวถูกละลายก็จะละลายได้เร็วในตอนแรกแล้วละลายได้ช้าลงและเมื่อเกิดสารละลายอิ่มตัว เราจะพบว่าตัวถูกละลายไม่ละลายต่อไปอีก  ไม่ว่าจะคนสารละลายเป็นเวลานานเท่าใดถ้าอุณหภูมิคงที่ เมื่อตั้งสารละลายอิ่มตัวไว้จะเกิดผลึกขึ้นและปริมาณของผลึกจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนในที่สุดผลึกคงที่ เรายังดูเหมือนว่าไม่เกิดผลึกอีก แต่ในระบบผลึกยังคงเกิดขึ้นเรื่อยๆแล้วก็ละลายในสารละลายอีกด้วย

สมดุลในปฏิกิริยาเคมี  คือ  ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดภาวะสมดุลจะต้องเป็นปฏิกิริยาผันกลับได้  และ  สมบัติของระบบต้องคงที่  การศึกษาภาวะสมดุลของปฏิกิริยาเคมี  ตรวจสอบดังนี้

  • ทดสอบปฏิกิริยาไปข้างหน้า (สารตั้งต้นทำปฏิกิริยากันแล้วเกิดเป็นสารผลิตภัณฑ์หรือไม่)
  • ทดสอบปฏิกิริยาย้อนกลับ (นำสารผลิตภัณฑ์มาทำปฏิกิริยากันแล้วกลับไปเป็นสารตั้งต้นหรือไม่)
  • สังเกตสมบัติของระบบว่าคงที่หรือไม่ (อาจสังเกตสีว่าคงที่หรือไม่)

การเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดสมดุลเคมีต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1.) การเปลี่ยนสถานะเช่น การกลายเป็นไอของน้ำในภาชนะปิด น้ำเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊ส

H2O(l)  ⇌    H2O(g)

หรือการระเหิดของไอโอดีนในภาชนะปิด ซึ่งเปลี่ยนสถานะไอโอดีนจากของแข็งเป็นแก๊ส

I2(s) ⇌    I2 (g)

ดังนั้น ในระบบอาจมีการเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว หรือจากของเหลวเป็นแก๊ส หรือจากแก๊สเป็นของแข็งอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้นการเปลี่ยนสถานะที่จะก่อให้เกิดสมดุลเคมีได้ต้องเกิดในระบบปิดเท่านั้น

2) การเกิดสารละลาย

การเกิดสารละลายที่จะก่อให้เกิดสมดุลเคมี เช่น การละลายของเกลือ NaCl  ในน้ำได้สารละลาย แต่เมื่อให้ความร้อนจะเกิดเป็นสารละลายอิ่มตัว เมื่ออุณหภูมิลดลงจะเกิดการตกผลึกของเกลือ NaCl  กลับมา การเกิดสารละลายลักษณะนี้จึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ การละลายของเกลือแกงแสดงดังสมการข้างล่าง(จะต้องละลายจนอิ่มตัวจึงจะเกิดสมดุล)

NaCl (s)  +  H2O   ⇌      Na+(aq)   +  Cl (aq)

3) การเกิดปฏิกิริยาเคมี

การเกิดปฏิกิริยาบางปฏิกิริยาสามารถผันกลับได้ และก่อให้เกิดสมดุลเคมี  เช่น การละลายของก๊าซ  CO2  ในน้ำ อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะการแพร่ของแก๊ส  CO2 ในน้ำ หรืออาจเกิดปฏิกิริยาเคมีกับน้ำได้กรดคาร์บอนิก และกรดคาร์บอนิกสามารถสลายตัวกลับมาเป็นแก๊ส CO2 และ H2O เหมือนเดิม

CO2 (g)  +  H2O (l)  ⇌    H2CO3

  ภาวะสมดุลระหว่างสถานะ  สารต่างๆสามารถเปลี่ยนสถานะได้ โดยมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานควบคู่ไปด้วย  ภาวะที่ระบบสมบัติคงที่ หรือภาวะที่สารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ทุกชนิดมีปริมาณหรือความเข้มข้นคงที่ หรือภาวะที่อัตราการเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าเท่ากับอัตราการเปลี่ยนแปลงย้อนกลับ


ลักษณะทั่วไปของภาวะสมดุล
  1. ที่อุณหภูมิหนึ่ง เมื่อเข้าสู่ระบบภาวะสมดุล สมบัติต่างๆของระบบจะคงที่ (แต่ไม่จำเป็นต้องเท่ากัน)  
  2. ณ ภาวะสมดุล การเปลี่ยนแปลงของปฏิกิริยายังคงเกิดขึ้นตลอดเวลาเรียกว่า ภาวะสมดุลไดนามิก (dynamic equilibrium) โดย อัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า = อัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ
  3. ภาวะสมดุลจะเกิดขึ้นในระบบปิด และเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบผันกลับได้ ดังนั้น ที่ภาวะสมดุลจะพบสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ทุกชนิดอยู่ในระบบ
  4. ระบบสามารถเข้าสู่สมดุลได้เอง ไม่ว่าจะเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าหรือย้อนกลับ
สมดุลไดนามิก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
  1. สมดุลเนื้อเดียว (Homogeneous Chemical Equilibrium)
  2. สมดุลเนื้อผสม (Heterogeneous Chemical Equilibrium)

        ดังแผนภาพนี้ดังแผนภาพนี้

ที่ภาวะสมดุลของปฏิกิริยาเคมีระบบยังมิได้หยุดนิ่ง ยังมีทั้งการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า และเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับตลอดเวลาโดยเกิดในอัตราที่เท่ากัน เรียกภาวะสมดุลนี้ว่า ภาวะสมดุลไดนามิก
   ภาวะสมดุลในสารละลายอิ่มตัว เมื่อให้ตัวถูกละลาย ละลายในตัวทำละลาย ตัวถูกละลายก็จะละลายได้รวดเร็วในตอนแรกแล้วละลายได้ช้าลงและเมื่อเกิดสารละลายอิ่มตัว เราจะพบว่าตัวละลายไม่ละลายต่อไปอีก ไม่ว่าจะคนสารละลายเป็นเวลานานเท่าใดถ้าอุณหภูมิคงที่ เมื่อตั้งสารละลายอิ่มตัวไว้จนตกผลึกขึนและปริมาณของผลึกจะเพิ่มเรื่อยๆจนคงที่ เรายังดูว่าไม่เกิดผลึกอีก แต่ในระบบผลึกยังคงเกิดขึ้นเรื่อยๆแล้วก็ละลายในสารละลายเรื่อยๆ
สมดุลในปฏิกิริยาเคมี คือ ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดภาวะสมดุลจะต้องเป็นปฏิกิริยาผันกลับได้ และสมบัติของระบบต้องคงที่การศึกษาภาวะสมดุลของปฏิกิริยาเคมี ตรวจสอบดังนี้

  • ทดสอบปฏิกิริยาไปข้างหน้า (สารตั้งต้นทำปฏิกิริยาแล้วเกิดสารผลิตภัณฑ์หรือไม่)
  • ทดสอบปฏิกิริยาย้อนกลับ (นำสารผลิตภัณฑ์มาทำปฏิกิริยากันแล้วกลับเป็นสารตั้งต้นหรือไม่)
  • สังเกตุสมบัติของระบบว่าคงที่หรือไม่ (อาจสังเกตว่าสีคงที่หรือไม่)
กราฟของสมดุลเคมี
กราฟสมดุลเคมีที่เขียนขึ้นระหว่างอัตราการเกิดปฏิกิริยากับเวลา

กราฟสมดุลเคมีที่เขียนขึ้นระหว่างความเข้มข้นของสารกับเวลา
แบบที่ 1 ที่สมดุลความเข้มข้นของสารตั้งต้นที่เหลือน้อยกว่าความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์

แบบที่ 2 ที่สมดุลความเข้มข้นของสารตั้งต้นที่เหลือมากกว่าความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์

แบบที่ 3 ที่สมดุลความเข้มข้นของสารตั้งต้นที่เหลือเท่ากับความเข้นข้นของผลิตภัณฑ์
 ค่าคงที่สมดุล
        ที่สาภาวะสมดุล [สารตั้งต้น] และ [สารผลิตภัณฑ์] จะคงที่ทำให้อัตราส่วนของความเข้มข้นของสารแต่ละชนิดคงที่ด้วย “ค่าคงที่ของสมดุลใด ๆ จะมีค่าเท่ากับผลคูณของความ เข้มข้นของผลิตภัณฑ์ หารด้วยผลคูณของสารตั้งต้น ณ สภาวะสมดุลซึ่งความเข้มข้นของสารแต่ ละชนิดจะตอ้งยกกำลังสัมประสิทธิ์บอกจำนวนโมลของสารนั้น ๆ”

    ข้อสังเกตเกี่ยวกับค่าคงที่สมดุล
  1. ค่า K จะบอกถึงปฏิกิริยาไปข้างหน้ามมากเท่าใด
  2. ค่า K จะบอกปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด
  3. ค่า K ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิเท่านั้น ความเข้มข้นและความดันไม่มีผล แต่จะมากขึ้นหรือน้อยลงขึ้นอยู่กับชนิดของปฏิกิริยา
  4. ค่า K อาจมีหน่วย หรือไม่มีหน่วยก็ได้ขึ้นอยู่กับสมการเคมี
  5. ค่า K มิได้เกี่ยวข้องกับอัตราเร็วในการเกิดปฏิกิริยา กล่าวคือ ค่า K มากอัตราของปฏิกิริยาอาจจะเร็วหรือช้าก็ได้
  6. ค่า K อาจมีค่ามากกว่า น้อยกว่าหรือเท่ากับหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับปฏิกิริยานั้น
ค่าคงที่สมดุลกับสมการเคมี
  • เมื่อเขียนสมการของปฏิกิริยาเคมีกลับกันกับสมการเดิม ค่า K ที่จะได้มีค่าเป็นส่วนกลับกับค่า K เดิม คือกลับเศษเป็นส่วนและส่วนเป็นเศษ
  • เมื่อคูณตัวเลขใดเข้าไปในสมการของปฏิกิริยา ค่า K ใหม่ที่ได้จะต้องนำค่า K เดิมมายกกำลังด้วยตัวเลขที่คูณนั้น
  • ถ้าปฏิกิริยารวม เกิดจากปฏิกิริยาย่อยรวมกัน ค่าคงที่สมดุลจะเท่ากับค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาย่อยคูณกัน
  • เมื่อหารตัวเลขใดๆ เข้าไปในสมการของปฏิกิริยา ค่า K ใหม่ที่ได้จะต้องนำค่า K เดิมมาถอดรากลำดับที่เท่ากับตัวเลขที่หารนั้น
ขั้นตอนการหาค่าคงที่สมดุล
  1. เขียนสมการเคมี
  2. ดุลสมการเคมี
  3. ณ จุดสมดุล หาความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์
  4. ณ จุดสมดุล หาความเข้มข้นของสารตั้งต้นที่เหลือ
  5. เขียนค่า K และแทนค่าความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์และสารตั้งต้นลงในค่า K

ความคิดเห็น